วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เรื่องย่อนิทานเวตาล

เรื่องย่อนิทานเวตาล


                                                
ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์
ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสนนำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี
พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคีเจ้าเล่ห์ แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทานทั้งสิ้น ๒๔ เรื่องด้วยกัน ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดยมีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูดเวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม
และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะเสด็จกลับไปเอาตัวเวตาลทุกครั้งไป จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่ย่อท้อ ผู้มีความกล้าหาญ ทำให้เวตาลบอกความจริงในความคิดของโยคีเจ้าเล่ห์ ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์
เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฎว่าโยคีได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตามที่เวตาลได้อธิบายให้พระราชาฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร และเวตาลได้บอกกับพระราชาตริวิกรมเสนว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุขในโลกมนุษย์จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวนประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์ ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า "เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายกปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน และครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กำจายไปในโลกกว้าง
เวตาลก็สนองตอบว่า ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้าด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของเวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย มียักษ์ เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้ จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้
พระศิวะได้ฟังเรื่องของต่าง ๆ ของเวตาลจบก็กล่าวชื่นชมในองค์พระราชาตริวิเสนมาก ซึ่งพระศิวะได้สร้างจากอนุภาคโดยให้มาปราบอสูรคนร้ายต่าง ๆ เมื่อพระราชาตริวิกรมเสนได้เป็นจอมราชันแห่งวิทยาธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว ก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุความหลุดพ้น

นิราศนรินทร์คำโคลง




นิราศนริทร์คำโคลง  เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก  ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์  นิราศนริทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
ผู้แต่ง
นรินทรธิเบศร์ (อิน)
ลักษณะคำประพันธ์
ร่ายสุภาพ  จำนวน 1 บท  และโคลงสี่สุภาพ  143 บท
จุดมุ่งหมายในการแต่งคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก
ความเป็นมา
นิราศ  เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน  นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น  ได้แก่
โคลงนิราศหริภุญชัย  ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา  เนื้อหานิราศโดยทั่วไปมักเป็น
การคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รัก  เนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม  สำหรับนิราศนรินทร์คำโคลง  มีลักษณะเป็นนิราศแท้
คือ  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา
ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า
นิราศนรินทร์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะมากเรื่องหนึ่งของไทย
                                                              อยุธยายศล่มแล้ว               ลอยสวรรค์ ลงฤา
                                                         สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                                                         บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                                                         บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                         เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น               พันแสง
                                                         รินรสพระธรรมแสดง                ค่ำเช้า
                                                         เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                                                         ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                                                         เอียงอกเทออกอ้าง                อวดองค์ อรเอย
                                                         เมรุชุบสมุทรดินลง                 เลยแต้ม
                                                         อากาศจักจารผจง                  จารึก พอฤา
                                                         โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม              อยู่ร้อนฤาเห็น
เรื่องย่อ
          นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร  โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์  แล้วกล่าวถึง  ความเจริญของบ้านเมือง  จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป
          นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
เนื้อเรื่องนิราศนริทร์

                    1. ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์  จรรโลงโลกกว่ากว้าง  แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ  ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า  แจกแสงจ้าเจิดจันทร์  เพียงรพิพรรณผ่องด้าว  ขุนหาญท้าวแหนบาท  สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน  ส่วนเศิกเหลี้ยนล่งหล้า  ราญราบหน้าเกริน  เข็ญข่าวยินยอบตัว  ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว  ทุกไทน้าวมาลย์น้อม  ขอออกอ้อมมาอ่อน  ผ่อนแผ่นดินให้ผาย  ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว  เลี้ยงทแกล้วให้กล้า  พระยศไท้เทิดฟ้า  เฟื่องฟุ้งทศธรรม  ท่านแฮ
                    2.          อยุธยายศล่มแล้ว                    ลอยสวรรค์ ลงฤา
                    สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-                      เจิดหล้า
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ฝึกฟื้นใจเมือง1
                    3.           เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น              พันแสง
                    รินรสพระธรรมแสดง                              ค่ำเช้า
                    เจดีย์ระดะแซง                                      เสียดยอด
                    ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                                 แก่นหล้าหลากสวรรค์2
                    4.          โบสถ์ระเบียงมณฑปฟื้น          ไพหาร
                    ธรรมาสน์ศาลาลาน                               พระแผ้ว
                    หอไตรระฆังขาน                                   ภายค่ำ
                    ไขประทีปโคมแก้ว                               ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์
                    8.          จำใจจากแม่เปลื้อง                 ปลิดอก อรเอย
                    เยียวว่าแดเดียวยก                               แยกได้
                    สองซีกแล่งทรวงตก                            แตกภาค  ออกแม่
                    ภาคพี่ไปหนึ่งไว้                                   แนบเนื้อนวลถนอม
                    10.          โฉมควรจักฝากฟ้า                ฤาดิน ดีฤา
                    เกรงเทพไท้ธรณินทร์                           ลอบกล้ำ
                    ฝากลมเลื่อนโฉมบิน                            บนเล่า  นะแม่
                    ลมจะชายชักช้ำ                                  ชอกเนื้อเรียมสงวน3
                    11.          ฝากอุมาสมรแม่แล้             ลักษมี  เล่านา
                    ทราบสวยภูวจักรี                               เกลือกใกล้
                    เรียมคิดจนจบตรี                               โลกล่วง  แล้วแม่
                    โฉมฝากใจแม่ได้                               ยิ่งด้วยใครครอง
                    22.          จากมามาลิ่วล้ำ                 ลำบาง
                    บางยี่เรือราพลาง                              พี่พร้อง
                    เรือแผงช่วยพานาง                           เมียงม่าน  มานา
                    บางบ่รับคำคล้อง                             คล่าวน้ำตาคลอ4
                    37.          บ้านบ่อน้ำบกแห้ง            ไป่เห็น
                    บ่อเนตรคงขังเป็น                             เลือดไล้
                    อ้าโฉมแม่แบบเบญ-                        จลักษณ์  เรียมเอย
                    มาซับอัสสุชลให้                              พี่แล้วจักลา
                    41.          เห็นจากจากแจกก้าน       แกมระกำ
                    ถนัดระกำกรรมจำ                             จากช้า
                    บาปใดที่โททำ                                แทนเท่า  ราแม่
                    จากแต่คาบนี้หน้า                            พี่น้องคงถนอม
                    45.          ชมแขคิดใช่หน้า              นวลนาง
                    เดือนตำหนิวงกลาง                         ต่ายแต้ม
                    พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง                   จักเปรียบ  ใดเลย
                    ขำกว่าแขไขแย้ม                            ยิ่งยิ้มอัปสร
                    118.          ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ    สงสาร  อรเอย
                    จรศึกโศกมานาน                             เนิ่นช้า
                    เดินดงท่งทางละหาน                      หิมเวศ
                    สารสั่งทุกหย่อมหญ้า                      ย่านน้ำลานาง
                    122.          พันเนตรภูวนาถตั้ง          ตาระวัง  ใดฮา
                    พักตร์สี่แปดโสตฟัง                          อื่นอื้อ
                    กฤษณนิทรเลอหลัง                        นาคหลับ  ฤาพ่อ
                    สองพิโยคร่ำรื้อ                                เทพท้าวทำเมิน
                    134.          นทีสี่สมุทรม้วย             หมดสาย
                    ติมิงคล์มังกรนาคผาย                      ผาดส้อน
                    หยาดเหมพิรุณหาย                         เหือดโลก  แล้งแม่
                    แรมราคแสนร้อยร้อน                       ฤเถ้า  เรียมทน
                    138.          ลมพัดคือพิษต้อง          ตากทรวง
                    หนาวอกรุมในดวง                          จิตช้ำ
                    โฉมแม่พิมลพวง                             มาเลศ  กูเอย
                    มือแม่วีเดียวล้ำ                              ยิ่งล้ำลมพาน
                    139.          เอียงอกเทออกอ้าง     อวดองค์ อรเอย
                    เมรุชุบสมุทรดินลง                        เลขแต้ม
                    อากาศจักจารผจง                         จารึก พอฤา
                    โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                      อยู่ร้อนฤาเห็น5
                    140.          ตราบขุนคิริข้น             ขาดสลาย  แลแม่
                    รักบ่หายตราบหาย                        หกฟ้า
                    สุริยจันทรขจาย                            จากโลก  ไปฤา
                    ไฟแล่นล้างสี่หล้า                          ห่อนล้างอาลัย
                    141.          ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง          แรมนวล  นาฏฤา
                    เสนาะสนั่นดินครวญ                      ครุ่นฟ้า
                    สารสั่งพี่กำสรวล                          แสนเสน่ห์  นุชเอย
                    ควรแม่ไว้ต่างหน้า                        พี่พู้นภายหลัง

คำศัพท์นิราศนริทร์คำโคลง                    1.  ศรีสิทธิ์พิศาลภพ  เลอหล้าลบล่มสวรรค์  จรรโลงโลกกว่ากว้าง  แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า  แจกแสงจ้าเจิดจันทร์  เพียงรพิพรรณผ่องด้าว  ขุนหาญห้าวแหนบาท  สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน  ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า  ราญราบหน้าเภริน  เข็ญข่าวยินยอบตัว  ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว  ทุกไทน้าวมาลย์น้อม  ขอออกอ้อมมาอ่อน  ผ่อนแผ่นดินให้ผาย  ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว  เลี้ยงทแกล้วให้กล้า  พระยศไทเทิดฟ้า  เฟื่องฟุ้งทศธรรม  ท่านแฮ
           บ้านเมืองสงบสุขเพราะบุญมารมีของพระมหากษัริย์  กรุงเทพ ฯ (ศรีอยุธยเยนทร์  เป็นสร้อยนามของกรุงเทพ ฯ)  เป็นเมืองที่กว้างใหญ่สวยงามกว่าเมืองใดในโลกจนชนะเมืองสวรรค์ได้  พระมหากษัตริย์ทรงผดุงแผ่นดินนี้ให้กว้างขวางราวเมืองสวรรค์  กรุงเทพ ฯ งามรุ่งเรืองในท้องฟ้า  สว่างกว่าแสงจันทร์  สว่างราวแสงอาทิตย์ที่ส่องโลก  พระมหากษัตริย์มีแม่ทัพกล้าหาญ  พระองค์ทรงขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร  ทรงปราบศัตรูได้ราบคาบ  พระเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือยำเกรง  พระเจ้าแผ่นดินเมืองอื่น ๆ พากันนอบน้อมขอเป็นเมืองขึ้น  พระองค์ทรงขยายอาณาเขต  ทรงบำรุงทหารให้กล้าแข็งทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระบุญญาธิการ
คำศัพท์
          ศรีสิทธิ์                              ขออำนาจความเป็นสิริมงคล  นิยมใช้ขึ้นต้นบทเพื่อขอให้สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนั้นสำเร็จดังปรารถนา
          ลบล่มสวรรค์                      สวยงามกว่าเมืองสวรรค์,  ชนะเมืองสวรรค์
          ผ้าง                                    ราวกับ
          เมืองเมรุ                            สวรรค์ชั้นดาวดึงส์  อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ
          ศรีอยุธเยนทร์                    กรุงเทพฯ
          ด้าว                                   โลก
          เพียรพิพรรณผ่องด้าว         ราวกับแสงอาทิตย์ส่องโลก
          ขุนหาญ                             แม่ทัพที่กล้าหาญ
          แหนบาท                           ฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน
          สระทุกข์                            ขจัดทุกข์
          รอนเสี้ยน                           ขจัดศัตรู
          ส่ายเศิก                             กวาดล้างข้าศึก
          เหลี้ยนล่ง                          เตียนโล่ง
          ราบหน้าเภริน                    ราบเป็นหน้ากอง
          เข็ญข่าวยิน                      ได้ฟังข่าวที่น่ากลัว
          ขอออก                             ขอเป็นเมืองขึ้น
          อ้อมมาอ่อน                      พยายามมาอ่อนน้อม
          แผ้ว                                 ทำให้ปราศจากศัตรู "ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว"
                                                  เป็นความเปรียบ  หมายถึง  ขยายอำนาจไปถึงสวรรค์
          ทศธรรม                           ทศพิธราชธรรม  หมายถึง  ธรรม 10 ประการของพระเจ้าแผ่นดิน  ได้แก่  ทาน ศีล บริจาค
                                                  ความซื่อตรง ความอ่อนโยน การข่มกิเลส ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน
                                                  และความไม่ผิดจากธรรม
                    2.  อยุธยายศล่มแล้ว              ลอยสวรรค์ ลงฤา
                    สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                    บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                    บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง
                     กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปแล้ว  กลับลอยลงมาจากสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง  นั่นคือกรุงเทพมหานคร  พระราชอาสน์  พระปรางค์  ประดับประดาด้วยแก้วมณีงามเด่นในโลก  เป็นเพราะผลบุญพระมหากษัตริย์ได้ทรงกระทำไว้แต่เก่าก่อน  พระพุทธศาสนาจึงได้เจริญรุ่งเรือง  ช่วยปิดทางแห่งความชั่ว  เปิดทางสู่ความดีงาม  ฟื้นฟูจิตใจราษฎรให้พ้นจากความงมงายในบาปต่าง ๆ
คำศัพท์
          สิงหาสน์                      ราชอาสน์หรือที่ประทับของพระราชา  มีลักษณะเป็นรูปจำลองของราชสีห์
          บุญเพรง                      บุญเก่า
          บังอบาย                      ปิดทางไปสู่ความชั่ว
          เบิกฟ้า                         เปิดทางไปสู่ความดี
          ฝึกฟื้นใจเมือง              ฟื้นฟูจิตใจชาวเมืองให้พ้นจากความทุกข์

                    3.  เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น         พันแสง
                    รินรสพระธรรมแสดง               ค่ำเช้า
                    เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                    ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                                                
                    พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าแสงอาทิตย์  ประชาชนฟังธรรมะด้วยความซาบซึ้งใจทุกเช้าค่ำ  เจดีย์มากมายสูงเสียดฟ้า  แลดูเห็นแสงแวววาวยิ่งกว่าแสงจากแก้ว 9 ประการ  เป็นความงามที่โดดเด่นในโลก  พระพุทธศาสนาเป็นหลักของโลก  จนทำให้เป็นที่มหัศจรรย์แก่สวรรค์
คำศัพท์
          พันแสง                       มีแสงนับพัน  หมายถึง  พระอาทิตย์ผู้มีนามว่า  สหัสรังสี
          แก้วเก้า                      แก้วเก้าประการ  หรือที่เรียกว่า  นพรัตน์, นวรัตน์  ได้แก่  เพชร  ทับทิม  มรกต  บุษราคัม  โกเมน
                                             นิล  มุกดา  เพทาย  และไพฑูรย์
          แก่นหล้า                     เป็นหลักของโลก  หมายความว่า  งามเป็นจุดเด่นของแผ่นดิน
          หลากสวรรค์               เป็นที่อัศจรรย์ใจของเทวดาบนสวรรค์
                    4.  โบสถ์ระเบียงมณฑปฟื้น      ไพหาร
                    ธรรมาสน์ศาลาลาน                    พระแผ้ว
                    หอไตรระฆังขาน                        ภายค่ำ
                    ไขประทีปโคมแก้ว                    ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์
                    พระอุโบสถ  พระระเบียง  พระมณฑป  พระวิหาร  รวมทั้งธรรมาสน์  ศาลา  หอไตร  ลานวัด  แลดูสะอาดหมดจด  เสียงระฆังตีบอกเวลายามค่ำ  แสงสว่างจากโคมไฟ

เรื่องย่อ ขุนช้างขุนเเผน


เรื่องย่อขุนช้างขุนเเผน
                                     กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว  คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่าย  รับราชการทหาร  มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วย              กันชื่อ พลายแก้วครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยา ชื่อ นางเทพทอง มีลูกชาย              ชื่อ ขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด และครอบครัวของพันศรโยธาเป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจันมีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อนางพิมพิลาไลย              วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษามีประสงค์จะล่าควายป่าจึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก              ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมายที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้              ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี ทางเมืองสุพรรณบุรีมีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศร              โยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมืองพอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย เมื่อพลายแก้วอายุได้ 15 ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียน              ต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อม              ใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์ เทศน์ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิษฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา              ทำให้นางพิมโกรธ ต่อมา เณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกัน  ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่              ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราว              ความเก่งกล้าสามารถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่              ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้ชัยชนะ นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้าน              เดือดร้อนจึงยกนางลาวทองลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้วส่วนพิมพิลาไลยเมื่อสามีจากไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย              ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลียนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดู              ว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฏหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับ              เห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึง              กรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรี นางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็              โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็น              ภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจ ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับการอบรมในวังและได้เป็นมหาดเล็กเวรทั้ง 2 คน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คน              มาส่งข่าวว่านางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผนขุน              ช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาภรรยา  สมเด็จพระพันวษาโกรธตรัสให้ขุนแผนตระเวนด่านที่กาญจนบุรี  ห้ามเข้าเฝ้าและ   ริบนางลาว              ทองเข้าเป็นหม้ายหลวง
                               ขุนแผนได้ทราบเรื่องก็โกรธขุนช้าง คิดจะแก้แค้นแต่ยังมีกำลังไม่พอ จึงออกตระเวนป่าไปโดยลำพัง คิดจะหาอาวุธ ม้า และ กุมารทอง               สำหรับป้องกันตัว ได้ตระเวนไปจนถึงถิ่นของหมื่นหาญนักเลงใหญ่ ได้เข้าสมัครเข้าไปอยู่ด้วย เพราะหวังจะได้บัวคลี่ลูกสาวของหมื่นหาญ ได้ทำ               ตัวนอบน้อมและตั้งใจทำงานเป็นอย่างดีจนเป็นที่รักใคร่ของหมื่นหาญถึงกับออกปากยกลูกสาวให้แต่งงานด้วยพอได้แต่งงานกับบัวคลี่แล้ลขุนแผน               ก็ไม่ยอมทำงานร่วมกับหมื่นหาญ ทำให้หมื่นหาญโกรธคิดฆ่าขุนแผน เพราะขุนแผนอยู่ยงคงกระพันจึงให้บัวคลี่ใส่ยาพิศลงในอาหารให้ขุนแผน               กิน แต่ผีพรายมาบอกให้รู้ตัวขุนแผนจึงทำอุบายเป็นไข้ไม่ยอมกินอาหารแล้วออกปากขอลูกจากบัวคลี่นางไม่รู้ความหมายก็ออกปากยกลูกให้ขุนแผน               พอกลางคืนขณะที่บัวคลี่นอนหลับขุนแผนก็ผ่าท้องนางแล้วนำลูกไปทำพิธีตอนเช้าหมื่นหาญ และภรรยารู้ว่าลูกสาวถูกผ่าท้องตายก็ติดตามขุนแผน               ไป แต่ก็สู้ขุนแผนไม่ได้ ขุนแผนเสกกุมารทองสำเร็จ จึงออกเดินทางต่อไป แล้วไปหาช่างตีดาบ หาเหล็ก และเครื่องใช้ต่าง ๆเตรียมไว้ตั้งพิธีตีดาบ               จนสำเร็จ ดาบนี้ให้ชื่อว่า ดาบฟ้าฟื้น ใช้เป็นอาวุธต่อไป หลังจากนั้นเดินทางไปหาม้า ได้ไปพบคณะจัดซื้อม้าหลวง ได้เห็นลูกม้าลูกม้าตัวหนึ่งมี               ลักษณะถูกต้องตามตำราก็ชอบใจ ได้ออกปากซื้อ เจ้าหน้าที่ก็ขายให้ในราคาถูก  ขุนแผนจึงเสกหญ้าให้ม้ากิน และนำมาฝึกจนเป็นม้าแสนรู้ให้ชื่อว่า               ม้าสีหมอก เมื่อได้กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอกครบตามความตั้งใจแล้วก็เดินทางกลับบ้าน คิดจะไปแก้แค้นขุนช้าง ทองประศรีมารดาห้าม               ปรามก็ไม่ฟัง ได้เดินทางออกจากกาญจนบุรีไปยังสุพรรณบุรีขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาลูกสาวพระยาสุโขทัยที่นำมาเป็นตัวจำนำไว้ในบ้าน               ขุนช้างเป็นภรรยา แล้วพาวันทองหนีออกจากบ้าน ขุนช้างตื่นได้ออกติดตามแต่ตามไม่ทัน ได้ไปทูลฟ้อง สมเด็จพระพันวษาให้กองทัพออกติดตาม               ขุนแผน ขุนแผนไม่ยอมกลับได้ต่อสู้กับกองทัพทำให้ขุนเพชร ขุนรามถึงแก่ความตาย กองทัพต้องถอยกลับกรุง ขุนแผนจึงกลายเป็นกบฏ ต้องเที่ยว                เร่ร่อนอยู่ในป่า จนนางวันทองตั้งท้องแก่ใกล้คลอด ขุนแผนสงสารกลัวนางจะเป็นอันตรายจึงยอมเข้ามอบตัวกับพระพิจิตร พระพิจิตรได้ส่งตัว                เข้าสู้คดีในกรุง ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทองคืน ขุนแผนมีความคิดถึงลาวทอง ได้ขอให้จมื่นศรีช่วยขอให้ ขุนแผนถูกกริ้ว และถูกจำคุก                แก้วกิริยาจึงตามไปปรนนิบัติในคุก วันหนึ่งขณะที่นางวันทองมาเยี่ยมขุนแผนขุนช้างได้มาฉุดนางวันทองไปจนนางวันทองคลอดลูกให้ชื่อว่า                พลายงาม เมื่อขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่าแต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ นางวันทองบอกความจริงและได้ให้                พลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี พลายงามอยู่กับย่าจนโต ได้บวชเป็นเณรและเล่าเรียนวิชาความรู้เก่งกล้าทั้งเวทมนตร์คาถา                และการสงคราม เมื่อมีโอกาสขุนแผนได้ให้จมื่นศรีนำพลายงามเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เมื่อมีศึกเชียงใหม่ พลายงามได้อาสาออกรบและทูลขอ                ประทานอภัยโทษให้พ่อเพื่อไปรบ ขุนแผนและนางลาวทองจึงพ้นโทษ ขณะที่เดินทางไปทำสงครามนั้นผ่านเมืองพิจิตร ขุนแผนจึงแวะเยี่ยมพระ                พิจิตร เมื่อพลายงามได้พบนางศรีมาลาลูกสาวพระพิจิตรก็หลงรัก จึงได้ลอบเข้าหานาง ขุนแผนจึงทำการหมั้นหมายไว้ เมื่อชนะศึก พระเจ้าเชียง                ใหม่ได้ส่งสร้อยทอง และสร้อยฟ้ามาถวาย พระพันวษาได้แต่งตั้งขุนแผนเป็นพระสุรินทรลือไชยมไหสูรย์ภักดี ไปรั้งเมืองกาญจนบุรี และได้แต่ง                ตั้งพลายงามเป็น จมื่นไวยวรนาถ และประทานสร้อยฟ้าให้แก่พลายงาม  จากนั้นก็ทรงจัดงานแต่งงานให้กับพลายงาม ขณะที่ทำพิธีแต่งงานขุน                ช้างได้วิวาทกับพลายงาม ขุนช้างได้ทูลฟ้อง จึงโปรดให้มีการชำระความโดนการดำน้ำพิสูจน์ ขุนช้างแพ้ความ พระพันวษาโปรดให้ประหาร                ชีวิต แต่พระไวยขอชีวิตไว้ ต่อมาพระไวยมีความคิดถึง แม่จึงไปรับนางวันทองมาอยู่ด้วยขุนช้างติดตามไป แต่พระไวยไม่ยอมให้ขุนช้างจึงถวาย                ฎีกา พระพันวษาจึงตรัสให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร นางมีความลังเล เลือกไม่ได้ว่าจะอยู่กับใคร พระพันวษาทรงโกรธจึงรับสั่งให้ประ                หารชีวิต แม้พระไวยจะขออภัยโทษได้แล้ว แต่ด้วยเคราะห์ของนางวันทอง ทำให้เพชรฆาตเข้าใจผิดจึงประหารนางเสียก่อน เมื่อจัดงานศพนาง                วันทองแล้ว ขุนแผนได้เลื่อนเป็นพระกาญจนบุรี นางสร้อยฟ้าได้ให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงใหลนางและเกลียดชังนางศรีมาลา พระ                กาญจนบุรีมาเตือน พระไวยโกรธลำเลิกบุญคุณกับพ่อ ทำให้พระกาญจนบุรีโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลลูกชายซึ่งเกิดจากนางแก้วกิริยาปลอมเป็น                มอญยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะให้พระไวยออกต่อสู้ จะได้แก้แค้นได้สำเร็จ พระไวยรู้ตัวเพราะ ผีเปรตนางวันทองมาบอกพระพันวษาทรง                ทราบเรื่องโปรดให้มีการไต่สวน พลายชุมพลพิสูจน์ได้ว่า นางสร้อยฟ้ากับเถรขวาดได้ทำเสน่ห์จริงแต่นางสร้อยฟ้าไม่รับ จึงมีการพิสูจน์โดยการ                ลุยไฟ สร้อยฟ้าแพ้ พระพันวษาสั่งให้ประหาร แต่นางศรีมาลาทูลขอไว้ นางสร้อยฟ้าจึงถูกเนรเทศกลับไปเชียงใหม่ และคลอดลูกชื่อ พลายยง ต่อ                มานางศรีมาลาก็คลอดลูกชาย ขุนแผนจึงตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร   เถรขวาดมีความแค้นพลายชุมพล จึงปลอมเป็นจระเข้ไล่กัดกินคนมาจากทาง                เหนือหวังจะแก้แค้นพลายชุมพลพระพันวษาโปรดให้พลายชุมพลไปปราบ จระเข้เถรขวาดสู้ไม่ได้ถูกจับตัวมาถวายพระพันวษา และถูกประหาร                ในที่สุด พลายชุมพลได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงนายฤทธิ์ เหตุการณ์ร้ายแรงผ่านไป ทุกคนก็อยู่ด้วยความเป็นสุข

สามก๊ก 1

ประวัติการประพันธ์
สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งจีนในขณะนั้นบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์วุ่นวายระส่ำระสาย เกิดการแตกแผ่นดินออกเป็นก๊กต่าง ๆ รวมสามก๊กด้วยกัน รวมทั้งมีการทำสงครามอันยาวนานนับ 100 ปี และสุดท้ายจีนที่แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่าก็กลับมารวมเป็นจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งในสมัยราชวงศ์จิ้นขึ้นปกครองประเทศจีนต่อ ภายหลังได้มีการชำระประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตในยุคนั้น โดยนักปราชญ์ชาวจีนชื่อตันซิ่ว(เฉินโซ่ว/Chen Sou)[4]
บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรคือ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือสามก๊กจี่ หรือซันกั๋วจื้อ (จีน: 三國志) ซึ่งเป็นผลงานการเขียนในลักษณะพงศาวดารโดยตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว บัณฑิตแห่งราชวงศ์จิ้น อดีตข้าราชการอาลักษณ์คนหนึ่งของจ๊กก๊กที่ถูกกวาดต้อนมายังวุยก๊กหลังจากพ่ายแพ้ศึกสงคราม โดยเขียนขึ้นตามบัญชาของพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้เพื่อเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ต่อมาในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 1873 - พ.ศ. 1943 หลัว กวั้นจง ได้นำซันกั๋วจื้อมาแต่งใหม่ในรูปแบบนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ โดยเนื้อเรื่องทั้งหมดนำมาจากซันกั๋วจื้อบ้างและแต่งเพิ่มเติมเองบ้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับซันกั๋วจื้อนั้น พบว่ามาจากซันกั๋วจื้อร้อยละ 70 และแต่งเองร้อยละ 30 โดยประมาณ

[แก้] สามก๊กในรูปแบบต่าง ๆ

  • เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสามก๊ก เคยมีผู้นำมาเล่าเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน และนำมาปรับปรุงเสริมแต่งเพื่อเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีน จนกระทั่งหลัว กวั้นจง นักปราชญ์จีนในสมัยยุคราชวงศ์หมิง ในปี พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 2186 ได้นำสามก๊กมาเรียบเรียงใหม่อีกครั้งในรูปแบบของหนังสือ ต่อมาภายหลังเม่าจงกังและกิมเสี่ยถ่าง (จิ้นเสิ้งทั่น) ได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนของสามก๊กและนำไปตีพิมพ์ในจีน หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อของ "สามก๊ก" ได้กลายเป็นวรรณกรรมอมตะที่ได้รับการกล่าวขานและแพร่หลายในจีน รวมทั้งอีกหลาย ๆ ประเทศและได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบภาษาต่าง ๆ หลายภาษา[5]
  • วรรณกรรมเรื่อง หงสาจอมราชันย์
  • วรรณกรรมเรื่อง จอมราชันย์อหังการ

[แก้] ซันกั๋วจื้อ

ซันกั๋วจื้อ (จีน: 三国志) ซึ่งเป็นจดหมายเหตุของตันซิ่ว ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของจีนในสมัยของยุคสามก๊กชุดแรก ซึ่งถือว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุด มีความยาว 65 เล่ม ประกอบไปด้วย วุยจี่ (จดหมายเหตุก๊กวุย) จำนวน 30 เล่มสมุด จ๊กจี่ (จดหมายเหตุก๊กจ๊ก) จำนวน 15 เล่มสมุด และง่อจี่ (จดหมายเหตุก๊กง่อ) จำนวน 20 เล่มสมุด มีตัวอักษรรวมทั้งหมดประมาณ 360,000 ตัว ซึ่งในตอนแรกนั้นตันซิ่วไม่ได้ตั้งชื่อบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊กว่า "ซันกั๋วจวื้อ" ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ต้าซ่งผู้หนึ่งเป็นผู้ตั้งให้ แต่เนื่องจากตันซิ่วรับราชการเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นหรือวุยก๊ก ซึ่งทำให้การเขียนจดหมายเหตุสามก๊กนั้นเป็นการเขียนที่ยึดเอาราชวงศ์จิ้นเป็นหลัก ตันซิ่วยกให้วุยก๊กของโจโฉเป็นก๊กที่ปกครองแผ่นดินอย่างถูกต้อง ส่วนจ๊กก๊กของเล่าปี่และง่อก๊กของซุนกวน กลายเป็นเพียงรัฐที่มีการปกครองเพียงบางส่วนของประเทศจีนเท่านั้น และด้วยเหตุนี้ทำให้มุมมองของตันซิ่วที่มีต่อจ๊กก๊กและง่อก๊กแตกต่างจากสามก๊กของหลัว กวั้นจง ซึ่งนำเอาจดหมายเหตุสามก๊กมาดัดแปลงเพิ่มเติมจนกลายเป็นสามก๊กในปัจจุบัน
ตันซิ่วกล่าวยกย่องจักรพรรดิของวุยก๊กทุกพระองค์ด้วยราชทินนามเช่น เรียกพระเจ้าโจโฉว่า "วุยบู๊เต๊" เรียกพระเจ้าโจผีว่า "วุยบุ๋นเต้" และเรียกพระเจ้าโจยอยว่า "วุยเหม็งเต้" และสำหรับพระเจ้าโจฮอง พระเจ้าโจมอและพระเจ้าโจฮวน ตันซิ่วยกย่องให้เป็นสามจักพรรดิพระองค์น้อย นอกจากนี้ตันซิ่วยังให้คำที่แปลว่าจักรพรรดิของแต่ละก๊กที่แตกต่างกัน โดยคำว่าจักรพรรดิของวุยก๊กใช้คำว่า "จี้" แปลว่าพระราชประวัติ แต่สำหรับจ๊กก๊กและง่อก๊ก ตันซิ่วเลือกใช้เพียงคำว่า "จ้วน" ที่แปลว่าชีวประวัติบุคคลเท่านั้น แต่สำหรับจักรพรรดิของจ๊กก๊กคือพระเจ้าเล่าปี่ ตันซิ่วยังคงให้เกียรติอยู่บ้างในฐานที่เคยอาศัยในจ๊กก๊ก จึงเรียกพระเจ้าเล่าปี่ว่า "เฉียนจวู่" แปลว่าเจ้าผู้ครองรัฐพระองค์แรก และเรียกพระเจ้าเล่าเสี้ยนว่า "โฮ่วจวู่" แปลว่าเจ้าผู้ครองรัฐพระองค์หลัง แต่สำหรับง่อก๊กนั้นตันซิ่วเลือกใช้คำสามัญธรรมดาด้วยการเรียกชื่อโดยตรงคือซุนเกี๋ยน ซุนกวนและซุนเหลียงเป็นต้น[6]
นอกจากนี้ตันซิ่วยังเปลี่ยนชื่อเรียกขานของจ๊กก๊กจาก "ฮั่น" เป็น "จ๊ก" ด้วยเหตุผลที่ว่าหากตันซิ่วเลือกใช้คำว่า "ฮั่น" ก็จะเท่ากับเป็นการให้เล่าปี่สืบทอดราชสมบัติและราชอาณาจักรต่อจากราชวงศ์ฮั่นอย่างถูกต้อง ซึ่งจะกลายเป็นการไม่ยุติธรรมต่อฝ่ายวุยก๊ก ตันซิ่วจึงเลือกที่จะลดฐานะของเล่าปี่จากเชื้อสายราชวงศ์ฮั่นเป็นเพียงเจ้าผู้ครองมณฑลเสฉวนหรือจ๊กก๊กเท่านั้น ซึ่งการเลือกใช้คำเรียกเล่าปี่ของตันซิ่วนี้ เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ไม่พอใจและตำหนิตันซิ่วที่มีความลำเอียงและเลือกเข้าข้างวุยก๊กและราชวงศ์จิ้น รวมทั้งมีอคติที่ไม่ดีต่อจูกัดเหลียงที่สืบมาจากความเคียดแค้นในเรื่องส่วนตัว แต่ถึงอย่างนั้นนักประวัติศาสตร์จีนก็ให้การยกย่องตันซิ่วที่มีความสามารถในการเขียนประวัติศาสตร์ ที่สามารถเก็บบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด

[แก้] ซันกั๋วจื้อผิงฮว่า

การแสดงงิ้วในฉบับซันกั๋วจื้อผิงฮว่า
ซันกั๋วจื้อผิงฮว่า (จีน: 三国之评话) เป็นการนำจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเขียนขึ้นใหม่ในรูปของนิทานและบทแสดงของงิ้วโดยนักปราชญ์สมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงประเพณีโบราณของจีนที่ให้ความสำคัญกับความกตัญญู ข้าราชการ เสนาธิการและเหล่าขันทีภายในราชสำนักจะต้องจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิอย่างไม่มีเงื่อนไข เนื้อหาบางส่วนของจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วที่กล่าวถึงโจโฉที่ใช้อำนาจในการข่มพระเจ้าเหี้ยนเต้ตลอดมานั้น รวมทั้งการที่โจผีบังคับให้พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชสมบัติให้แก่ตน ตามหลักการของลัทธิขงจื๊อถือว่าเป็นบาปเท่ากับกลายเป็นโจรปล้นราชสมบัติ ซันกั๋วจื้อผิงฮว่าจึงกลายเป็นสามก๊กฉบับชาวบ้านที่เล่าสืบทอดกันมาและมีความแตกต่างจากจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว[7]
ซันกั๋วจื้อผิงฮว่า เป็นการนำเอาหลักการความเชื่อในด้านศาสนาและลัทธิเต๋าของจีนมาผสมผสานไว้ในเนื้อเรื่อง ผูกโยงร่วมกับนิทานพื้นบ้านของจีนเรื่องไซ่ฮั่น โดยสมมุติเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในซันกั๋วจื้อผิงฮว่าใหม่ทั้งหมด ซึ่งตัวละครในแต่ละตัวจะพบผลกรรมที่ตนเองได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้ในยุคไซ่ฮั่นเช่น มีการแต่งเนื้อเรื่องเพิ่มเติมว่าฮั่นสินได้กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นโจโฉ เล่าปังหรือพระเจ้าฮั่นโกโจ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นพระองค์แรก กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ เนื่องจากในชาติที่แล้ว เล่าปังได้เนรคุณฮั่นสินที่มีบุญคุณต่อตนเองภายหลังจากได้ช่วยให้ครอบครองแผ่นดินได้สำเร็จ เมื่อกลับมาเกิดใหม่เป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้จึงถูกฮั่นสินที่กลับมาเกิดเป็นโจโฉกดขี่ข่มเหงและกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา หรือแม้แต่สุมาต๋ง ก็ได้หวนกลับมาเกิดใหม่เป็นสุมาอี้ ผู้วางรากฐานจีนแผ่นดินใหญ่และการรวบรวมก๊กต่าง ๆ ทั้งสามก๊กให้เป็นแผ่นดินเดียวกันได้สำเร็จ
ซันกั๋วจื้อผิงฮว่า ถูกนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในรูปแบบของนิทานพื้นบ้านและการแสดงงิ้วของคนจีน จึงพบว่ามีเนื้อหาบางและข้อมูลบางส่วนมีความผิดพลาดจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของจีนเช่น การให้เตียวหุยกลายเป็นสุดยอดขุนศึกที่มีความเก่งกาจ สามารถเอาชนะลิโป้ได้อย่างง่ายดายจนต้องหลบหนีเอาตัวรอด หรือแม้แต่เอาชนะจูล่งได้ที่กู่เฉิง บีบคออ้วนซงบุตรชายของอ้วนสุดจนตายคามือ เป็นต้น

[แก้] เผย์ซงจื่อ

สามก๊ก ฉบับเผย์ซงจื่อ (จีน: 裴松之) เป็นการนำเอาจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเรียบเรียงใหม่ และอธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนโดยเผย์ซงจื่อ นักปราชญ์ที่เกิดและเติบโตในเมืองวิ่นเฉิงหรือมณฑลซานซีในปัจจุบัน เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม เผย์ซงจื่อได้รับราชการเป็นอาลักษณ์ให้แก่ราชวงศ์ซ่งทางตอนใต้ของจีน และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ชำระจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยที่เผย์ซงจื่อชำระจดหมายเหตุสามก๊กเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 972 และมีการกล่าวเพิ่มเติมรวมทั้งให้คำอธิบายในบางส่วนเกี่ยวกับภูมิประเทศและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีการกล่าวอ้างถึงในต้นฉบับเดิม
นอกจากนี้ เผย์ซงจื่อยังแก้ไขในเรื่องของระยะเวลาที่มีความขัดแย้งในตัวเองของจดหมายเหตุสามก๊กและเพิ่มเติมความคิดเห็นบางส่วนของตนลงไป โดยที่ไม่ตัดทอนรายละเอียดและเรื่องราวต่าง ๆ ของจดหมายเหตุสามก๊กออกแต่อย่างใด จึงนับได้ว่าการชำระจดหมายเหตุสามก๊กของเผย์ซงจื่อทำให้ซันกั๋วจื้อเป็นที่กล่าวขานครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่ง[8]

[แก้] ซันกั๋วจื้อทงสูเหยี่ยนอี้

ซันกั๋วจื้อทงสูเหยี่ยนอี้ (จีน: 三国之通俗演義) เป็นสามก๊กฉบับนิยายที่ประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง นักปราชญ์ในสมัยราชวงศ์หมิง ผู้เป็นศิษย์เอกของซือไน่อัน หลัว กวั้นจงเป็นผู้นำเอาจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเรียบเรียงใหม่ โดยแต่งเสริมเพิ่มเติมในบางส่วนจากความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ในแบบฉบับของตนเอง รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจีนให้กลายเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เป็นการต่อสู้กันเองระหว่างฝ่ายคุณธรรมและฝ่ายอธรรมตามแบบฉบับของงิ้ว ที่จะต้องมีการกำหนดตัวเอกและตัวร้ายอย่างชัดเจนในเนื้อเรื่อง
สามก๊กของหลัว กวั้นจงได้มีการกำหนดให้เล่าปี่เป็นฝ่ายคุณธรรม มีจิตใจโอบอ้อมเมตตาอารีและมีคุณธรรมสูงส่งที่พยายามปราบปรามโจโฉที่เป็นฝ่ายอธรรม ช่วงชิงราชสมบัติและล้มล้างราชวงศ์ฮั่น ซึ่งจากการตรวจสอบประวัติศาสตร์จีน นักประวัติศาสตร์ต่างลงความเห็นถึงสามก๊กของหลัว กวั้นจงที่มีใจเอนเอียงไปทางเล่าปี่อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมีเหตุผลยืนยันความถูกต้องตามประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่[9]

[แก้] ซันกั๋วเหยี่ยนอี้

ซันกั๋วเหยี่ยนอี้ (จีน: 三国演義) เป็นสามก๊กที่ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่โดยเหมาหลุนและเหมาจ้งกัง สองพ่อลูกในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งได้ทำการปรับปรุงสามก๊กในแบบฉบับของหลัว กวั้นจงใหม่อีกครั้ง และมอบหมายให้กิมเสียถ่าง (จิ้นเซิ่งทั่น) เป็นผู้เขียนคำนำเรื่อง โดยที่สามก๊กฉบับที่เหมาหลุนและเหมาจ้งกังช่วยกันปรับปรุงแก้ไข โดยยึดแนวทางการเขียนของหลอกว้างจงเป็นต้นแบบคือแบ่งเป็นสองฝ่ายและแย่งชิงอำนาจวาสนากันในสมัยราชวงศ์ฮั่น ให้ฝ่ายเล่าปี่เป็นฝ่ายที่เป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นที่ถูกต้องของแผ่นดินจีน โจโฉเป็นฝ่ายกบฏที่ทะเยอทะยานในอำนาจของตนเอง [10]
เหมาจ้งกังได้ปรับแก้ไขสำนวนการใช้ภาษาของหลัว กวั้นจงในบางจุด ซึ่งเป็นภาษาพูดและเป็นการใช้สำนวนภาษาแบบยุคราชวงศ์หยวนหรือหงวน ให้กลายเป็นการใช้สำนวนภาษาในแบบภาษาเขียนของราชวงศ์ชิงหรือแมนจู นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับเปลี่ยนลักษณะและบุคลิกของตัวละครในสามก๊กใหม่ทั้งหมดตามแนวความคิดของตนเอง รวมทั้งยังปรับเปลี่ยนชื่อและตำแหน่งขุนนาง สถานที่ของสามก๊กต้นฉบับของหลัว กวั้นจงผิดไปตามชื่อจริงในยุคนั้น ๆ ซึ่งสามก๊กของหลัว กวั้นจงนั้นได้เขียนชื่อตัวละคร ตำแหน่งและสถานที่ค่อนข้างชัดเจนและถูกต้องตามความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ แต่การปรับปรุงแก้ไขของเหมาหลุนและเหมาจ้งกังช่วยทำให้การดำเนินเรื่องไม่เยิ่นเย้อ เดินเรื่องกระชัย และเป็นการขัดเกลาภาษาทำให้อ่านสนุกน่าติดตาม

[แก้] อาณาจักรสามก๊ก

ภาพแผนที่สามก๊กได้แก่วุยก๊ก จ๊กก๊กและง่อก๊ก
ในการปกครองบ้านเมืองของจีน ราชวงศ์ฮั่นถือเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ราชวงศ์หนึ่ง ซึ่งได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปไกล ขับไล่ชนเผ่านอกด่านออกไปจากภาคเหนือของประเทศได้ ด้านทิศเหนือครอบครองแมนจูเรียและเกาหลีบางส่วน ทิศใต้ครองมณฑลกวางตุ้งและกว่างซีรวมถึงตอนเหนือของเวียดนาม ครั้นถึงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกหรือตงฮั่น จักรพรรดิทรงอ่อนแอ ขันทีมีอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขุนศึกหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่องและตั้งกองกำลังส่วนตัวขึ้น ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านไปทั่วแผ่นดิน ราษฎรได้รับความเดือนร้อนไปทั่วจนทำให้เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลืองขึ้น กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันโดยไม่สนใจรัฐบาลกลาง ในที่สุดแผ่นดินจีนแตกออกเป็นสามก๊กอย่างชัดเจนภายหลังจากที่โจโฉพ่ายแพ้แก่เล่าปี่และซุนกวนในการศึกที่ผาแดง เมื่อปี พ.ศ. 751

[แก้]